Pretty Welcome Signs from DollieCrave.com

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 26 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4


วันนี้อาจารย์สอนต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว เรื่อง

 ุ6.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และ อารมณ์(Children 
with Behavioral and Emotional Disorders)

-เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้

-เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้-ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างเรียบร้อย

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และอารมณ์ สามารถ แบ่งออกเป็น 2ประเภท ดังนี้ คือ

-เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์

-เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้


เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ มักมีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด  คือ

 -วิตกกังวล      

-หนีสังคม     

 -ก้าวร้าว


การจะจัดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้

-สภาพแวดล้อม     -

ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล      

ผลกระทบ

-ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ

-รักษาความสัมพันธ์ กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้

-มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน

-มีความคับข้องใจ และมีความเก็บกดอารมณ์

-แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศรีษะ ปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย

-มีความหวาดกลัว


เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก

-เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)

-เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)

เด็กสมาธิสั้น(Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)

-เรียกโดยย่อๆว่า ADHD

-เด็กที่ซนอยู่ไม่นิ่ง ซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

 -เด็กบางคนมีปัญหา เรื่องสมาชิกบกพร่อง อาการหุนหันพลันแล่น ขาดความยังยั้งชั่งใจ เด็กเหล่านี้ทางการแพทย์ เรียกว่า Attention Deficit Disorders (ADD)


ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และ อารมณ์

-อุจจาระ ปัสสาวะ รดเสื้อผ้า หรือที่นอน

-ติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก

-ดูดนิ้ว กัดเล็บ

-หงอยเหงา เศี้าซึม การหนีสังคม

-เรียกร้องความสนใจ

-อารมณ์หวั่นไหวง่าย ต่อสิ่งเร้า

-อิจฉา ริษยา ก้าวร้าว

-ฝันกลางวัน

-พูดเพ้อเจ้อ


7.เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้( Children with 

Learning Disabilities)

-เรียกย่อๆว่า L.D. (Learning Disability)

-เด็กที่มีปัญหา ทางการเรียนรู้เฉพาอย่าง

-เด็กมีปัญหาทางการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน 

-ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจาก ความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย


ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

-มีปัญหาในทักษะคณิตศาสตร์

-ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้

-เล่าเรื่อง/ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้

-มีปัญหาด้านการ อ่าน เขียน

-ซุ่มซ่าม

-รับลูกบอลไม่ได้

-ติดกระดุมไม่ได้

-เอาแต่ใจตนเอง


8.เด็กออทิสติก (Autistic)-หรือ ออทิซึ่ม(Autism)

-เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมายพฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้

-เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง

-ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต

ลักษณะของเด็กออทิสติก

-อยู่ในโลกของตนเอง

-ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ความปลอบใจ

-ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน

-ไม่ยอมพูด

-เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

-ยึดติดวัตถุ

-ต่อต้าน หรือแสดงกิริยาอารมณ์อย่างรุนแรง และไร้เหตุผล

-มีทีท่าเหมือนคนหูหนวก

-ใช้วิธีการสัมผัส และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่ต่างจากคนทั่วไป


9.เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps) 

อาการของเด็กประเภทนี้ มีดังนี้

-เด็กมีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก

-เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน

-เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด

-เด็กที่ทั้งหูหนวก และ ตาบอด



    -อาจารย์ให้ดูวีดีโอ เรืองห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษพร้อมทั้งทำแผนผังความคิดโดยสรุป ส่งในคาบ




วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 19 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หมายถึง บุคคลที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวอวัยวะไม่สมส่วน  อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไป  กระดูกและกล้ามเนื้อพิการ  เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง  มีความพิการของระบบประสาท  มีความลำบากในการเคลื่อนไหว  ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาในสภาพปกติและต้องอาศัยการฝึกฝน  การใช้เครื่องมือ  วัสดุ  อุปกรณ์หรือต้องการเครื่องอำนวยความสะดวกเข้าช่วย


ลักษณะอาการ 

-อาการที่บกพร่องทางร่างกาย  ที่มักพบบ่อย ได้แก่

                1. ซีพี หรือ ซีรีรัล พัลซี (C.P. : Cerebral Passy) หมายถึง การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการหรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด อันเนื่องมาจากการขาดอากาศ ออกซิเจนฯ เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ คือ
  • อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก (Spastic)
  • อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้
  • อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไม่ดี
  • อัมพาตตึงแข็ง (Rigid) การเคลื่อนไหวแข็งช้า ร่างการมีการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้
  • อัมพาตแบบผสม (Mixed)
                2.กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อย ๆ อ่อนกำลัง เด็กจะเดินหกล้มบ่อย               3.โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่
  • ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด
  • ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง
  • กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
              4.โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไปเจริญต่อมน้ำเหลืองในลำคอ ลำไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อเซลล์ประสาทบังคับกล้ามเนื้อถูกทำลาย แขนหรือขาจะไม่มีกำลังในการเคลื่อนไหว              5.แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแค่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก หรือเด็กที่แขนขาด้วนเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ และการเกิดอันตรายในวัยเด็ก              6.โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เป็นผลทำให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย ตัวเตี้ย มีลักษณะของกระดูกผิดปกติ กระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชุดจากระดูกหน้าแข็ง


ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย ได้แก่

             1. โรคสมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองที่พบบ่อยมีดังนี้
  • ลมบ้าหมู (Grand Mal)
  • การชั่กในช่วงสั้นๆ(Petit Mal)
  • การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
  • อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex)
  • อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
             2.โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม             3.โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินชูลิน             4.โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ             5.โรคศีรษะโต เนื่องมาจากน้ำคั่งในสมอง ส่วนมากเป็นมาแต่กำเนิด ถ้าได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้องสภาพความพิการจะไม่รุนแรง เด็กสามารถปรับสภาพได้และมีพื้นฐานทางสมรรถภาพดีเช่นเด็กปกติ             6.โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด เด็กจะตัวเล็กเติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียว เหนื่อยหอบง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 12 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


อาจารย์สอนเรื่อง เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Special Child)  

ซึ่งหลายคนก็มักจะนึกถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือมีพัฒนาการ

บกพร่อง แต่จริงๆ แล้วคำว่าเด็กพิเศษนั้นครอบคลุมไปมากกว่านั้นค่ะ เพราะว่า “เด็กพิเศษ” (Special Child) มาจากคำเต็มๆ ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” (Child with Special Needs) หมายถึง เด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม ซึ่ง นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา (จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น) ได้แบ่งเด็กพิเศษออกเป็น กลุ่มหลักๆ ดังนี้
1) เด็กที่มีความสามารถพิเศษ: เนื่องจากคนในสังคมมักคิดว่าเด็กเหล่านี้เป็นเด็กเก่ง เด็กกลุ่มนี้จึงมักไม่ค่อยได้รับการดูแลและช่วยเหลืออย่างจริงจัง ในทางตรงกันข้าม หลายๆ ครอบครัวกลับไปเพิ่มความกดดันให้กับเด็กมากยิ่งขึ้น เพราะมีความคาดหวังมากกว่าเด็กปกติทั่วไป นอกจากนี้วิธีการเรียนรู้ในแบบปกติทั่วไปก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กกลุ่มนี้ได้ มักทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่ายและอาจทำให้ไม่สสามารถแสดงความสามารถพิเศษที่มีอยู่ได้อย่างเต็มศักยภาพ เด็กที่มีความสามารถพิเศษสามารถแบ่งออกเป็น กลุ่มย่อย ดังนี้ 
          •  เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง คือ กลุ่มเด็กที่มีระดับสติปัญญา (IQ) ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป 
          •  เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน เด็กเหล่านี้อาจไม่ใช่เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง แต่จะมีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน ที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การใช้ภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา การแสดง ฯลฯ 
          •  เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
2) เด็กที่มีความบกพร่อง: ในต่างประเทศได้มีการแบ่งแยกย่อยไปหลายแบบ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการของไทยได้แบ่งออกเป็น กลุ่มย่อย ดังนี้ 
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์และพฤติกรรม
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities)
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities)
          •  เด็กออทิสติก (รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs)
          •  เด็กที่มีความพิการซ้อน
3) เด็กยากจนและด้อยโอกาส: คือเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ขาดแคลนปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ของเด็ก และยังรวมไปถึงกลุ่มเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษาจากสาเหตุอื่นๆ อีกด้วย เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กถูกใช้แรงงาน เด็กต่างด้าว ฯลฯ 
      ทั้งนี้  เด็กในกลุ่มต่างๆที่กล่าวถึงนี้ ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมด้วยวิธีการพิเศษซึ่งต่างไปจากวิธีการตามปกติ เพื่อให้พวกเค้าสามารถพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม รวมทั้งได้รับการยอมรับและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขค่ะ
หมายเหตุ:เนื่องจากวันนี้หนูไม่ได้เข้าเรียน ก็เลยคัดลอกข้อความมาจากเพื่อนค่ะ

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 5เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


  - อาจารย์ได้ปฐมนิเทศนักศึกษา และได้สร้างข้อตกลงในการเข้าเรียน พร้อมงานที่ได้รับมอบหมายในวิชานี้
  -  อาจารย์ได้แจกใบกระดาษสีชมพูไว้ให้นักศึกษาเอาไว้ปั๊มตราสัญลักษณ์ในการเข้าเรียนทุกครั้งและเวลาตอบคำถามอาจารย์ก็จะได้คนละ 1 ดวง
-  อาจารย์ได้ให้นักศึกษาสร้าง Blogger ในรายวิชานี้ เพื่อเป็นการบันทึกการเรียนการสอนทุกครั้ง
-  อาจารย์ก็ได้แจกกระดาษ  A4   สีไม้และ สีเทียน  แล้วให้นักศึกษาทุกคนทำ   Mindmap  ในหัวข้อ" เด็กพิเศษ " แล้วตกแต่งให้สวยงาม
-  อาจารย์ได้ให้เพื่อนออกไปนำเสนอ   Mindmap ของแต่ละคน โดยจะให้ส่งตัวแทนไปนำเสนอผลงานที่ค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต 1 คน และคนที่ใช้ความรู้เดิม โดยที่ไม่เปิดใช้อินเตอร์เน็ต 1 คน


รูปภาพการสรุปเด็กพิเศษโดยค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ตของฉัน




รูปภาพของเพื่อนที่เป็นตัวแทนออกไปนำเสนอโดยผลงานเป็นการค้นคว้ามาจากอินเตอร์เน็ต






รูปภาพของเพื่อนที่เป็นตัวแทนออกไปนำเสนอ

โดยผลงานเป็นการนำมาจากความรู้เดิม