Pretty Welcome Signs from DollieCrave.com

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 18 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2557


บันทึกการเรียนครั้งที่ 16



        วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเคลียงานที่ค้างอยู่ให้เรียบร้อย พร้อมส่งงานวิจัยของแต่ละคน และอาจารย์ได้ให้ข้อสอบกลับไปทำ โดยนัดส่งในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557

วันอังคารที่ 11 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2557


บันทึกการเรียนครั้งที่ 15


เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (L.D.) 

การดูแลรักษาให้ความช่วยเหลือ

- สร้างความภูมิใจในตนเองให้เกิดกับเด็ก
-มองหาจุดดี จุดแข็งของเด็กและให้คำชมอยู่เสมอ
-ให้เสริมแรงทางบวก
-รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
-วางแผนการจัดทำแฟ้มข้อมูลเี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
-สังเกตติดตามความสามารถและการมาีส่วนร่วมในชั้นเรียนของเด็ก
-แผนการสอน IEP


       การรักษาด้วยยา
  • Ritalin
  • Dexedrine
  • Cylert


หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  1. สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ.)
  2. โรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์
  3. ศูนย์การศึกษาพิเศษ (Early Intervertion : EI )
  4. โรงเรียนเฉพาะความพิการ
  5. สถาบันราชานุกูล

อาจารย์ให้ดู VDO  เรื่อง เรียนอย่างไรในศูนย์การศึกษษพิเศษ




วันอังคารที่ 4 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557



บันทึกการเรียนครั้งที่ 14



วันนี้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง เด็กดาวน์ซินโดรมอาจารย์อธิบายเนื้อหาสาระได้อย่างเข้าใจ


1. ด้านสุขภาพอนามัย 

-บิดามารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่แรก ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
2.การส่งเสริมพัฒนาการ 
-เด็กกลุ่มอาการดาวสามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
3.การดำรงชีวิตประจำวัน
-ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด
4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ
-การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัก
-การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
-การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิต
-การฟื้นฟูสมรถถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ 

      การส่งเสริมพัฒนาการ

-พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตรืและภาษา
-สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
-สังคมยอมรับมากขึ้นไปเรียนร่วมมือเรียนรวมได้
-ลดปัยหาพฤติกรรม
-คุณภาพชีวิตดีขึ้นสามารถแก้ไขปัญหาและทำงานได้ดีขึ้น

                  Autistic ออทิสติก (ตัวอันตราย/คล้ายๆกับเด็กสมาธิสั้นอยู่ไม่นิ่งอยู่ไม่สุข )

    ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว/สำคัญที่สุด 
 -ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติก
    ส่งเสริมความสามารถเด็ก
-การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
-ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
    การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
-เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
-การให้การเสริมแรง ดีก็ชม
    การฝึกพูด (ได้รับจากนักบำบัดการพูด)
-โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า
-ถ้าเด็กพูดได้เร็วโอกาสที่จะพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติจะเพิ่มมากขึ้น
-ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
-ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อความต้องการได้
-การสื่อความหมายทดแทน (AAc)

      การสื่อความหมายทดแทน
-การรับรู้ผ่านการมองเห็น
-โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร PECS
-เครื่องโอภา
      การส่งเสริมพัฒนาการ
-ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
-เน้นในเรื่องการมองหน้าการสบสายตาการมีสมาธิ การฟัง และทำตามคำสั่ง
-ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู้กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม
     การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
-เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
-แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
-โรงเรียนเรียนรวม ห้องเรียนคู่ขนาน
     การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม ( ต่ำ )
-ทักษะในชีวิตประจำวัน และฝึกฝนทักษะสังคม
-ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถ โดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
     การรักษาด้วยยา
-เพื่อบรรเทาอาการไม่ใช่รักษาให้หาย
      การบำบัดทางเลือก
-การสื่อความมหายทดแทน
-ศิลปะกรรมบำบัด
-ดนตรีบำบัด
-การฝังเข็ม
-การบำบัดด้วยสัตว์
       พ่อแม่
-ลูกต้องพัฒนาได้
-เรารักลุกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
-ถ้าเราไม่รักแล้วใครจะรัก
-หยุดไม่ได้ต้องสู้
-ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
-ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
-ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว

     * แล้วอาจารย์ก็ให้ดูวิดีโอ  --เรื่อง เด็กสมาธิสั้น-- (สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต ) แล้วสรุปเป็นมายแม็ป



**หมายเหตุ วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนจึงขอนำบทความของ น.ส.ธนาภรณ์  โคกสีนอก นำมาลงบล็อคค่ะ

วันอังคารที่ 28 เดือนมกราคม พ.ศ.2557


บันทึกการเรียนครั้งที่ 13


**วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน**
เนื่องจากมีการสอบเก็บคะแนนกลางภาค


วันอังคารที่ 21 เดือนมกราคม พ.ศ.2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12


วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานที่เหลืออีก 2 กลุ่ม  ซึ่งมีดังนี้

กลุ่มที่ 4 ออทิสติก (Austitim)



กลุ่มที่ 5 ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome)




หลังจากจบการนำเสนอแล้ว อาจารย์ได้บอกแนวที่จะสอบในอาทิตย์หน้า





วันอังคารที่ 14 เดือนมกราคม พ.ศ.2557


บันทึกการเรียนครั้งที่ 11



**ไม่มีการเรียนการสอน **
เนื่องจากมีปัญหาความไม่สงบทางการเมือง

วันอังคารที่ 7 เดือนมกราคม พ.ศ.2557


บันทึกการเรียนครั้งที่ 10


                      วันนี้ได้มีการนำเสนองานกลุ่มในเรื่องประเภทของเด็กพิเศษทั้ง 5 กลุ่ม ที่ได้จับฉลากได้ ซึ่งในวันนี้ได้มีการนำเสนอด้วยกันทั้ง 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 สมองพิการ (Cerebral Palsy : C.P.)




กลุ่มที่ 2 เด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ (Learning Disabilities: L.D.)





กลุ่มที่ 3 เด็กสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperacivity Disorders : ADHD)





ส่วน 2 กลุ่มที่เหลือ นำเสนอในสัปดาห์ต่อไป